บทความสรุปจากหนังสือ


ขนมไทย หวานอร่อยติดใจ


          ขนมไทยมีส่วนผสมหลักคือ ไข่ แป้ง กะทิ และน้ำตาล นิยมรับประทานท้ายมื้ออาหารหรือทานเล่น ยังนิยมใช้ในงานมงคลต่างๆ เพราะมีชื่อและความหมายดี สื่อถึงสิริมงคล เช่น งานบวช มักจัดขนมไทยที่มีชื่อมงคลเพื่อความรุ่งเรืองของตัวเจ้าภาพและผู้บวช งานแต่ง มักเลือกขนมที่มีชื่อและความหมายดี เป็นสิริมงคลต่อคู่บ่าวสาว
         การทำขนมไทย สมัยก่อนผู้ที่ทำขนมไทยต้องมีประสบการณ์และความชำนาญอย่างมาก เพราะในการทำใช้การกะส่วนผสมสายตาและสัมผัสด้วยมือ แต่ปัจจุบันมีอุปกรณ์สำหรับชั่ง ตวง วัด จึงทำให้ขนมไทยมีรสชาติได้มาตราฐานและระบุส่วนผสมได้ชัดเจน อุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับทำขนมไทย เพื่อให้ได้ลักษณะที่ถูกต้อง สัดส่วนที่ถูกต้องแม่นยำ จึงควรเลือกซื้ออุปกรณ์ที่มีคุณภาพ ทนทาน  เฉพาะสำหรับทำขนมไทย หลักในการประกอบขนมไทย มักใช้การชิมแล้วกะประมาณส่วนผสม ขึ้นอยู่กับความชอบของผู้ชิม รสชาติขนมไทยจึงขึ้นอยู่กับผู้ทำแต่งละคน แต่ปัจจุบัน ได้มีการนำอุปกรณ์ตวงและวัดมาใช้ เพื่อให้ได้ปริมาณส่วนผสมแน่นอน รสชาติสม่ำเสมอ

   อุปกรณ์ เช่น 
1.ถ้วยตวง แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ถ้วยตวงของเหลว ถ้วยตวงของแห้ง



2.ช้อนตวง วัสดุที่ใช้มักทำมาจากอะลูมิเนียมและพลาสติก ช้อนตวง 1 ชุดมี 4 ขนาด เป็นต้น เครื่องปรุง ขึ้นชื่อว่าขนม ย่อมมีรสหวานนำ จะต่างกันที่ระดับความเข้มข้นของความหวาน ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้น้ำตาล นอกจากส่วนผสมหลัก อาจะมีส่วนผสมอื่นๆเป็นองค์ประกอบ เช่น ถั่วดำ ถั่วเหลือง ไข่ กุ้งแห้ง ปลาแห้ง เป็นต้น


   ส่วนผสมได้แก่
-ไข่ ทั้งไข่เป็ดและไข่ไก่ ควรเลือกไข่สดและใหม่ บางชนิดใช้เฉพาะไข่ขาวบางชนิดใช้ทั้งไข่แดงและไข่ขาว
-น้ำตาล ที่นิยม 1.น้ำตาลทราย 2.น้ำตาลทรายแดง 3.น้ำตาลอ้อย 4.น้ำตาลมะพร้าว 5.น้ำตาลโตนด
-มะพร้าว ทั้งมะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวอ่อน มะพร้าวทึนทึก                                                                          -แป้ง มีหลายชนิด 1.แป้งมันสำปะหลัง 2.แป้งสาลี 3.แป้งข้าวเหนียว 4.แป้งข้าวเจ้า 5.แป้งถั่วเขียว  6.แป้งข้าวโพด 7แป้งท้าวยายม่อม                                                                                                             -ถั่วและงา ถั่วมีหลายชนิดเช่น ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเหลือง เป็นต้น งามี 2 ชนิดคือ งาดำและงาขาว                                                                                        
   การแต่งกลิ่นในขนมไทย นอกจากมีรสชาติอร่อยและมีความสวย สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์ มีหลายลักษณะต่อไปนี้ การแต่งกลิ่นด้วยน้ำลอยดอกไม้สด การแต่งกลิ่นโดยวิธีอบควันเทียน      

 ประเภทของขนมไทย 
1.แบ่งโดยคำนึงถึงชนิดและวัตถุดิบหลัก
 2.แบ่งตามวิธีการหุงต้ม การกวน ฉาบ เชื่อม ต้ม ทอด จี่ นึ่ง ปิ้ง เปียก ละเลง อบ

 การแต่งสี
 1.สีสังเคราะห์หรือสีวิทยาศาสตร์
2.สีธรรมชาติ ได้แก่ สีเหลืองจากขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย หญ้าฝรั่น เกสรดอกคำฝอย ลูกพุด เก๊กฮวย สีเขียวจากเมล็ดผักปลัง ครั่ง ฝาง ข้าวแดงเมืองจัน (อั้งคัก) กระเจี๊ยบ สีน้ำเงินจากดอกอัญชันส่วนกลีบ สีม่วงจากน้ำดอกอัญชันที่บีบมะนาว สีดำจากดอกดิน กาบมะพร้าวหรือใบลาน สีน้ำตาลจากน้ำตาลไหม้ กาแฟและโกโก้ สีส้มหรือสีแสด กรรณิการ์ คำแสด
      


ขนมกุหลาบชาววัง

ขนมกุหลาบชาววัง





สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์

บทความขนมไทย ได้อนุญาตให้ใช้ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 4.0 International.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น